คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง
ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ
พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา
ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา
แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น
ไก่เหลืองหางขาวที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง
บ้านหัวเทจังหวัดพิษณุโลกเพราะไก่พิษณุโลกเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ทรงนำไก่เหลืองหางขาวจากพิษณุโลก
ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา![](http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/photo/1244479389_24551244479389_2455.jpg)
![](http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/photo/1244479389_24551244479389_2455.jpg)
ไก่เหลืองหางขาว
เป็นไก่ฉลาดปราดเปรียว อึด ทน เป็นไก่เชิงแปดกระบวนท่า
ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด ครั้งหนึ่งไก่ไทยชนกับไก่พม่าหน้าพระที่นั่ง
ไก่เหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตีไก่เหลืองโยดอกหมากหางดำของพระมหาอุปราชาคอหักล้มลงและแพ้
ทำให้พระมหาอุปราชทรงอับอาย กล่าวแก้ว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงกล่าวตอบโต้ด้วยความภาคภูมิว่า
"ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีอย่างกีฬาในวังเหมือนวันนี้เลย
ตีพนันเอาบ้านเมืองกันก็ยังได้"
จากพระราชดำรัสที่ทรงกล่าวโดยไม่สะทกสะท้านและมั่นพระทัยในไก่เหลืองหางขาวของพระองค์
ทำให้พระมหาอุปราชาทรงเกรงกลัว หาหนทางกลั่นแกล้งและกำจัด
เป็นผลทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้
ไก่เหลืองหางขาวจึงมีชื่อเสียงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไก่เจ้าเลี้ยง” และ “ไก่พระนเรศวร” ซึ่งปัจจุบันชาวพิษณุโลกมีความภาคภูมิใจ
และหวงแหนในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้มาก
จึงมีการอนุรักษ์และพัฒนาไก่สายพันธุ์นี้มาโดยตลอด
ในประเทศที่มีกีฬาชนไก่จะรู้จักไก่ไทยเหลืองหางขาวเป็นอย่างดี
![](http://www.mormekfarm.com/webboard/N767520.jpg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น